ค้นเจอ 103 รายการ

จาร,จาร-,จาร-

หมายถึง[จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).

จาร

หมายถึง[จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.

เข้ากรรม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ.

เหล็กจาร

หมายถึงน. เหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้น.

อุจจาร,อุจจาร-,อุจจาระ

หมายถึง[อุดจาระ-] น. ขี้, (ปาก) อึ. (ป., ส.).

สายลับ

หมายถึงน. ผู้เข้าไปสืบความลับ เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการจารกรรมของสายลับ, สาย ก็ว่า.

เวรกรรม

หมายถึง[เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.

ครุกรรม

หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.

หมดกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

เสวยกรรม

หมายถึง(วรรณ) ก. ตาย เช่น หนหลังเกรงแหล่งหล้า พระบาทคิดหนหน้า อยู่เกล้าเสวยกรรมฯ. (ลอ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ