ตัวกรองผลการค้นหา
เภสัชศาสตร์
หมายถึง[เพสัดชะสาด] น. วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค.
ชื่อและตัวย่อภาษาอังกฤษระดับวุฒิปริญญาตรีของคณะต่าง ๆ ในไทย
คณะองคมนตรี
หมายถึง(กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.
คณะกรมการจังหวัด
หมายถึง(กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด.
คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
กรมการจังหวัด
หมายถึงน. คณะกรมการจังหวัด; กรมการจังหวัดแต่ละคนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการจังหวัด. (ดู คณะกรมการจังหวัด).
นายโรง
หมายถึงน. พระเอกลิเก, เจ้าของคณะลิเก; หัวหน้าคณะหนังตะลุงหรือมโนราห์.
สังฆสภา
หมายถึง(กฎ; เลิก) น. สภาของคณะสงฆ์ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
กรรมการ
หมายถึง[กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
สังฆนายก
หมายถึง(กฎ; เลิก) น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
ชูโรง
หมายถึงน. ตัวแสดงที่ทำให้คณะดีขึ้น.
กรมการอำเภอ
หมายถึง(เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละคนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
กมล
หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).