ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา นพรัตน์, นวรัตน์, เนาวรัตน์, รตนะ
ชค,ชค-
หมายถึง[ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.).
คำไวพจน์: ช้าง - คำไวพจน์ของ ช้าง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
ปวช. ย่อมาจากอะไร มีสาขาอะไร และเรียนต่ออะไรบ้าง
ปวช. ปวส. ย่อมาจากอะไร & รวมตัวย่อวุฒิการศึกษาไทย
คำศัพท์ในโรงพยาบาล
คช,คช-
หมายถึง[คดชะ-] (แบบ) น. ช้าง, ช้างพลาย. (ป., ส.).
ช
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.
หมายถึงในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก.
ดงปราคช
หมายถึงใช้เป็น small talk ในการเริ่มบทสนทนากับคนที่เราแอบชอบ มาจากนักร้อง Bowkylion ที่แนะนำให้แฟนคลับคนหนึ่ง ใช้คำนี้ในการทักแชทไปจีบคนที่แอบชอบ พอเขาเห็นข้อความ เขาก็จะงง ว่ามันแปลว่าอะไร เราจึงใช้โอกาสนี้ในการทำความรู้จัก และจีบต่อไป ซึ่งมีคนทำสำเร็จมาแล้ว จาก mv เพลง ยิ้มมา - Bowkylion เจ้าตัวออกเสียงคำนี้ว่า ดง-ปร๊ากช์
คชินทร์,คเชนทร์
หมายถึงน. พญาช้าง. (ส. คช + อินฺทฺร).
ค
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
ชว,ชว-
หมายถึง[ชะวะ-] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
ปลวังค,ปลวังค-
หมายถึง[ปะละวังคะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ปลวังคสังวัจฉร. (ส. ปฺลวงฺค).
คต,-คต
หมายถึง[-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).
คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
มาริ
หมายถึงก. มา. (ช.).