ตัวกรองผลการค้นหา
ร่ายรำ
หมายถึงก. เดินหรือจับระบำไปตามจังหวะดนตรีของละครรำ.
ร่าย
หมายถึงน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ; ทำนองร้องอย่างหนึ่งของละครรำ เรียกว่า ร้องร่าย.
เต้นรำ
หมายถึงก. เคลื่อนไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนดให้เข้าจังหวะกับดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปรกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง, รำเท้า ก็ว่า เช่น ฝรั่งรำเท้า.
รำ
หมายถึงน. ผงเยื่อหรือละอองเมล็ดข้าวสาร.
หมายถึงก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือ เช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.
หมายถึงก. บริกรรมเวทมนตร์คาถาเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายเวท ร่ายมนตร์ ร่ายคาถา.
ละครรำ
หมายถึงน. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.
ลาสนะ
หมายถึง[ลาสะ-] น. การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. (ป., ส.).
ร่ายดั้น
หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕-๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.
รื้อร่าย
หมายถึงน. ชื่อทำนองเพลงร้องอย่างลำนำ.
ร่ายสุภาพ
หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.
เสภารำ
หมายถึงน. เสภาทรงเครื่องที่มีตัวละครออกมารำประกอบการขับ.