ตัวกรองผลการค้นหา
กระอ่วน,-กระอ่วน
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระอัก เป็น กระอักกระอ่วน.
"กะเทย" กับ "กระเทย" คำไหนที่ถูกต้อง
กะเพรา กระเพรา กะเพา เขียนอย่างไรจึงจะมีความหมายถูกต้อง
คำไวพจน์: เต่า - คำไวพจน์ของ เต่า พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำสุภาพที่ควรรู้ คู่กับคำราชาศัพท์
กระ
หมายถึงน. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
หมายถึงน. ชื่อเต่าทะเลชนิด Eretmochelys imbricata ในวงศ์ Cheloniidae หลังเป็นเกล็ดแผ่นโต ๆ ดูเหมือนซ้อนเหลื่อมกันอย่างกระเบื้องมุงหลังคาสีนํ้าตาลลายเหลือง ปากงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว ขาแบนเป็นพาย มีไข่กลมเปลือกนิ่มเหนียว ไข่ตามหาดทรายครั้งละ ๑๕๐-๒๕๐ ฟอง. (ข. กราส่).
กระเกรียบ,-กระเกรียบ
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระกรับ เป็น กระกรับกระเกรียบ.
กระเดก,-กระเดก
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระโดก เป็น กระโดกกระเดก.
กระเบี้ย,-กระเบี้ย
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย.
กระปิ่ม,-กระปิ่ม
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระปิ่ม.
กระส่าย,-กระส่าย
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระสับ เป็น กระสับกระส่าย.
กระจี๋,-กระจี๋
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระจู๋ เป็น กระจู๋กระจี๋.
กระแฉก,-กระแฉก
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระฉอก เป็น กระฉอกกระแฉก.