ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กรร, กรร-, กรรม์, สามัญ, บถ, ปรกติ, กรรมกร, กรรมาร, กระเชา, การ,-การ,-การ, ขเจา, บัพชา
กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-
หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด กรรม
คำไวพจน์: นก - คำไวพจน์ของ นก พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำไวพจน์: ช้าง - คำไวพจน์ของ ช้าง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
คำไวพจน์: ปลา - คำไวพจน์ของ ปลา พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
เข้ากรรม
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ.
ชา
หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในหลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้ปลูกเป็นรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.
หมายถึงก. หมายไว้, กำหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบเรือชา. (สมุทรโฆษ).
หมายถึงว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
หมายถึง(โบ) น. เรียกร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและนํ้าหอมเป็นต้น.
หมายถึงก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
หมายถึงก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.
เวรกรรม
หมายถึง[เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
ครุกรรม
หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.
หมดกรรม
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.