ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา มรรคา, มรรค, จตุราริยสัจ, โลกุตรธรรม, ค, อริยสัจ, มัค,มัค-,มัคคะ, อนาคามิมรรค, อรหัตมรรค, มี, ผล
มรรคผล
หมายถึง(ปาก) น. ผล, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นมรรคผล ไม่ได้มรรคผลอะไร.
สกทาคามิมรรค,สกิทาคามิมรรค
หมายถึง[-มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
อนาคามิมรรค
หมายถึงน. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี. (ส. อนาคามินฺ + มารฺค; ป. อนาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
อรหัตมรรค
หมายถึงน. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. (ส. อรฺหตฺตฺว + มารฺค; ป. อรหตฺตมคฺค). (ดู มรรค).
อริยมรรค
หมายถึงน. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทางดำเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).
อัฏฐังคิกมรรค
หมายถึง[อัดถังคิกะมัก] น. มรรคประกอบด้วยองค์ ๘. (ป. อฏฺงฺคิกมคฺค).
กถามรรคเทศนา
หมายถึง[-มักคะเทดสะหฺนา] น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา. (ส. -เทศนา ว่า การแสดง).
อัษฎางคิกมรรค
หมายถึง[อัดสะดางคิกะมัก] น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.
อุจจารมรรค
หมายถึง[อุดจาระมัก] น. ทวารหนัก. (ส.; ป. อุจฺจารมคฺค).
เวจมรรค
หมายถึงน. ทวารหนัก, วัจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
กถามรรค
หมายถึง[-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).
มรรค-
หมายถึง[มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).