คำไวพจน์ เท้า
เท้า = บาทา / ตีน / บทบงกช / บทศรี / บาท / ซ่น / บท / บัวบาท / ส้น / ยุคลบาท
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเท้า
เท้า หมายถึง?
พจนานุกรมไทย เท้า หมายถึง:
น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
ความหมายในพจนานุกรมไทย เท้า คือ
ความหมายในพจนานุกรมไทย ของคำที่มีความหมายคล้าย เท้า
ซ่น หมายถึง (โบ) น. ส้น, ส่วนท้ายของเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ซ่นปืน.
ตีน หมายถึง น. อวัยวะส่วนล่างสุดของคนหรือสัตว์ นับตั้งแต่ใต้ข้อเท้าลงไป สําหรับยืนหรือเดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นหรือส่วนล่างของสิ่งบางอย่าง เช่น ตีนม่าน ตีนมุ้ง; ชาย, เชิง, เช่น ตีนท่า ตีนเลน.
บทบงกช หมายถึง [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
บทศรี หมายถึง [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).
บัวบาท หมายถึง น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
บาท หมายถึง น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.
ยุคลบาท หมายถึง [ยุคนละบาด] น. เท้าทั้งคู่. (ป., ส.).
ส้น หมายถึง น. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.