คำไวพจน์ จิต
จิต = จิตใจ / จิตร / สมาธิ / จิตต- / จิตต / ฌาน / จิตวิสัย / จิตต์ / หัวจิตหัวใจ / เจตสิก / จริม / จริม- / ภวังคจิต / เถยจิต / จิตตวิสุทธิ / สมุฏฐาน / ประทุฐจิต / ประทุษฐจิต / ประทุษฏจิต
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจิต
จิต อ่านว่า
อ่านว่า /จิด/ /จิด-ตะ/
ความหมายในพจนานุกรมไทย จิต คือ
ความหมายในพจนานุกรมไทย ของคำที่มีความหมายคล้าย จิต
จิตตวิสุทธิ หมายถึง (แบบ) น. ความหมดจดของจิต คือหมดจดจากกิเลส.
จิตร หมายถึง [จิด] (โบ) น. จิต, ใจ.
จิตวิสัย หมายถึง [จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยวัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).
จิตใจ หมายถึง น. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.
ฌาน หมายถึง [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
ประทุฐจิต หมายถึง [ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
ภวังคจิต หมายถึง น. จิตเป็นภวังค์. (ป.).
สมาธิ หมายถึง [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).
สมุฏฐาน หมายถึง [สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ, เช่น สมุฏฐานของโรค โรคนี้มีจิตเป็นสมุฏฐาน. (ป.).
หัวจิตหัวใจ หมายถึง น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจจะทำอะไร.
เจตสิก หมายถึง [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
เถยจิต หมายถึง น. จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).