ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เรือกสวน, ขี้ริ้ว, ไต่, อสุภ,อสุภ-, ขี้เหร่, ไต่ลวด, ต่วน
ไต่สวน เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ไตร่สวน เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ไต่สวน
หมายถึงก. สอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือไม่.
ใบไต่สวน
หมายถึง(กฎ) น. หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน และหมายความรวมถึงใบนำด้วย.
จารีตนครบาล
หมายถึงก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจำเลย.
พิจยะ,พิจัย
หมายถึง[-จะยะ] น. การตรวจตรา, การไต่สวน. (ป., ส. วิจย).
หมายขัง
หมายถึง(กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา.
ศาลแขวง
หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจไต่สวนหรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
ครอบจักรวาล
หมายถึง[คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น "พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์)."
ผู้ชำนาญการพิเศษ
หมายถึง(กฎ) น. ผู้มีความชำนาญพิเศษในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดีในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีอาญาไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้นหรือไม่ก็ตาม.
หมายเรียก
หมายถึง(กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐานให้ศาล; หมายที่นายอำเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ.
คดีอนาถา
หมายถึง(กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.