ค้นเจอ 14 รายการ

เสียดสี

หมายถึงก. ถูกัน เช่น กิ่งไม้เสียดสีกันจนเกิดไฟไหม้ป่า ว. อาการที่ว่ากระทบกระเทียบเหน็บแนมด้วยความอิจฉาเป็นต้น เช่น เธอไม่ชอบเขา จึงพูดเสียดสีเขาเสมอ ๆ.

แนม

หมายถึงก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริกมีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.

เหน็บ

หมายถึงก. พูดเสียดสีแคะไค้ เช่น เขาชอบมาเหน็บให้เจ็บใจ. ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้ ในคำว่า พูดเหน็บ.

เหน็บแนม

หมายถึงว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้กระทบกระเทียบเปรียบเปรย.

กระแนะกระแหน

หมายถึง[-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า.

ออด,ออด,ออด ๆ

หมายถึงว. ไม่หยุดหย่อน (มักใช้แก่กริยาบ่น); เสียงดังเช่นเสียงของแข็ง ๆ เสียดสีกัน.

กระแหนะกระแหน

หมายถึง[-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแนะกระแหน ก็ว่า.

ส่าย

หมายถึงว. เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากผ้าแพรเนื้อหนาแข็งเสียดสีกัน เช่น ได้ยินเสียงแพรส่าย.

ทิ่มแทง

หมายถึงก. ทิ่มให้ทะลุเข้าไป, อาการที่แทงซํ้าหลาย ๆ ครั้ง. ว. อาการที่พูดเสียดสีให้เจ็บใจ เรียกว่า พูดทิ่มแทง.

กระเสียน,-กระเสียน

หมายถึง(โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).

เฉี่ยว

หมายถึงก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือเสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิงคนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.

ผีพุ่งไต้

หมายถึงน. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่ อีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้าเนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถ้ามีขนาดเล็กก็จะไหม้หมดก่อนถึงผิวโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะตกถึงผิวโลกและเรียกว่า อุกกาบาต, ดาวตก ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ