ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เวรกรรม, กรรมเวร, เวชกรรม, เวร, สวกรรม
เสวยกรรม
หมายถึง(วรรณ) ก. ตาย เช่น หนหลังเกรงแหล่งหล้า พระบาทคิดหนหน้า อยู่เกล้าเสวยกรรมฯ. (ลอ).
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด กรรม
คำราชาศัพท์ - คําราชาศัพท์ หมวดอาหาร
เสวย
หมายถึง[สะเหฺวย] ก. ได้รับ, ได้ประสบ, เช่น เสวยทุกขเวทนา, ได้รับประโยชน์ เช่น เสวยสิทธิ์. (ข. โสฺวย).
กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-
หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.
หมายถึง[สะเหฺวย] (ราชา) ก. กิน, เสพ, เช่น เสวยพระกระยาหาร เสวยพระสุธารส; ครอง เช่น เสวยราชย์. (ข. โสฺวย).
หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
เข้ากรรม
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ.
เวรกรรม
หมายถึง[เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
ครุกรรม
หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.
หมดกรรม
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
ดนตรีกรรม
หมายถึง(กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว.
ศิลปกรรม เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ศิลปะกรรม เป็นคำที่เขียนผิด ❌
พันธุกรรม
หมายถึงน. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.