ค้นเจอ 1,995 รายการ

เลื่อยชักไม้

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ มีขนาดใหญ่ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นหรือแถบยาวติดกับปลายขาคันเลื่อยทั้งคู่ มีไม้ยาวที่เรียกว่า อกเลื่อย ยันอยู่ตรงกลาง ปลายขาคันเลื่อยด้านตรงข้ามมีเชือกคล้องรั้งและบิดเพื่อขึงใบเลื่อยให้ตึง ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน.

เลื่อยอก

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตัดหรือโกรกไม้ ลักษณะคล้ายเลื่อยชัก แต่ขนาดย่อมและสั้นกว่า.

เลื่อยตะขาบ

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างทำเป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.

เลื่อยโยง

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่างผูกโยงกับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อยให้ทำงาน.

ไม้เปิดปีก

หมายถึงน. ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทั้ง ๔ ด้าน.

คลองเลื่อย

หมายถึงน. ร่องไม้ที่เลื่อยเลื่อยเข้าไป, แนวฟันของเลื่อย.

เลื่อยฉลุ

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิดหนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลายตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก.

เลื่อย

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตัด มีหลายชนิด ใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า ด้านที่ใช้เลื่อยมีคมเป็นฟันจัก ๆ. ก. ตัดด้วยเลื่อย.

เลื่อยหางหนู

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาวปลายเรียวแหลม ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นรูปขอสำหรับจับ.

ไม้เหลี่ยม

หมายถึงน. ไม้ท่อนที่เลื่อยด้านข้างออกทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปสี่เหลี่ยม.

เลื่อยลันดา,เลื่อยวิลันดา

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้น โคนใหญ่ ปลายรี ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นคันสำหรับจับ.

ชัก

หมายถึงก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ