ค้นเจอ 11 รายการ

เครื่องแบบ

หมายถึงน. เครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเหมือน ๆ กันเฉพาะหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง.

ตะเบ๊ะ

หมายถึง(ปาก) ก. ทำความเคารพอย่างคนในเครื่องแบบ คือ ทำวันทยหัตถ์.

แผงคอ

หมายถึงน. แผงทำด้วยสักหลาดหรือกำมะหยี่ สำหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบนิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น; (โบ) แผงทำด้วยสักหลาดหรือกำมะหยี่ สำหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบทางราชการ; ขนที่สันคอม้า.

ขอเฝ้า

หมายถึงน. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่งเครื่องแบบราชการ.

จ่าย

หมายถึงก. เอาออกใช้หรือให้ เช่น จ่ายเครื่องแบบ, โดยปริยายหมายความว่า ซื้อ ก็มี เช่น จ่ายกับข้าว.

วันทยาวุธ

หมายถึงน. ท่าเคารพด้วยอาวุธของทหาร ตำรวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก และถืออาวุธอยู่กับที่.

วันทยหัตถ์

หมายถึงน. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตำรวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ.

ผิดสี

หมายถึง(ปาก) ว. ต่างสีกัน, เดิมใช้แก่คนที่แต่งเครื่องแบบต่างสีกัน เมื่อพบเห็นมักทำให้รู้สึกว่าเป็นคนละพวก.

กำหนด

หมายถึง[-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้; (เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจำพวก เช่น พระราชกำหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.

ราชปะแตน

หมายถึง[ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัดตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคำบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).

ประคด

หมายถึงน. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็นแผ่นสำหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสำหรับคาดอก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก; ผ้าสำหรับคาดเอวทับเครื่องแบบขุนนางสมัยโบราณ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ