ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา จำเบศ, กมลาศ, กมเลศ
ลิลิต
หมายถึงน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว.
เข้าลิลิต
หมายถึงก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."
จำเบศ
หมายถึงความหมายอย่างเดียวกับ จำบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จำเบศจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช).
ลิลิตสุภาพ
หมายถึงน. ลิลิตที่ใช้ร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณขึ้นต้น แล้วใช้โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณสลับระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตเตลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต.
กมลาศ
หมายถึง[กะมะลาด] (กลอน) น. บัว; ใจ. (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต).
กมเลศ
หมายถึง[กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ในสันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
ลิลิตดั้น
หมายถึงน. ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้นสลับระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตยวนพ่าย.
กรอ
หมายถึงก. ม้วนด้ายเข้าหลอดด้วยไนหรือเครื่องจักร; ควง เช่น กรเกาะขอกรอธาร เงือดง้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
กุงาน
หมายถึงน. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ. (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
วรรณศิลป์
หมายถึงน. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี.
ศฤงคารรส
หมายถึง[สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของวรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมีเนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.
กรินทร์
หมายถึงน. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).