ค้นเจอ 21 รายการ

เข่ง

หมายถึงน. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลำไย เข่งปลาทู; ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางในเข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.

ตะกร้า

หมายถึง[-กฺร้า] น. ภาชนะสานโปร่งสำหรับใส่สิ่งของ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหูหิ้ว บางชนิดไม่มี.

ตะกร้า เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ตระกร้า เป็นคำที่เขียนผิด ❌

กะต่า

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ตะกร้า, ตะกร้ามีหูหิ้ว; หูก.

กวย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ตะกร้า.

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก

หมายถึง(สำ) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.

ใส่ตะกร้าล้างน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. ทำให้หมดราคี, ทำให้หมดมลทิน, (ใช้แก่ผู้หญิงที่มีราคีคาว) เช่น หญิงที่มีราคีแล้ว ถึงจะใส่ตะกร้าล้างน้ำก็ไม่หมดราคีคาว.

ปิฎก

หมายถึงน. ตะกร้า; หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก).

เหมา

หมายถึง[เหฺมา] ก. คิดเป็นจำนวนรวม เช่น รับเหมาเหมาผลไม้ทั้งเข่ง; หาความ เช่น อย่าเหมาว่าฉันผิดคนเดียว.

จังมัง

หมายถึงน. ไม้สำหรับขัดก้นกระบุงและตะกร้าทั้ง ๔ มุมให้แน่นและแข็งแรง. ว. แข็งแรง, จั้งมั่ง ก็ว่า.

กะชะ

หมายถึงน. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สำหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.

กระหยัง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสำหรับใส่ของ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ