ค้นเจอ 13 รายการ

อัปมงคล

หมายถึง[อับปะ-] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย, อปมงคล ก็ว่า. (ป., ส.).

อปมงคล,อัปมงคล

หมายถึง[อะปะ-, อับปะ-] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย. (ป., ส.).

ระยำ

หมายถึงว. ชั่วช้า, ตํ่าช้า, เลวทราม, อัปมงคล, เช่น คนระยำ เรื่องระยำ ทำระยำ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ยับเยิน, แหลก, เช่น ดังดวงแก้วตกต้องแผ่นผา ร้าวระยำช้ำจิตเจ็บอุรา. (อิเหนา).

เสนียด

หมายถึง[สะเหฺนียด] ว. จัญไร, อัปมงคล, เช่น อย่าทำตัวเป็นเสนียดแผ่นดิน.

ยมขันธ์

หมายถึงน. ชื่อยามที่เป็นอัปมงคล.

พิบัติ

หมายถึงน. ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล. ก. ฉิบหาย. (ป., ส. วิปตฺติ).

กาลกิณี

หมายถึง[กาละกินี, กานละกินี] น. เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล. (ส. กาลกรฺณี; ป. กาลกณฺณี).

กาลกรรณี

หมายถึง[กาละกันนี, กานละกันนี] น. เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล. (ส. กาลกรฺณี; ป. กาลกณฺณี).

เหาจะกินหัว,เหาจะขึ้นหัว

หมายถึง(สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.

วิบัติ

หมายถึงน. พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ. ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).

ถือ

หมายถึงก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดำรงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคำว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.

เวท

หมายถึง[เวด] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ