ค้นเจอ 61 รายการ

สำนวน

หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

หัวมังกุท้ายมังกร เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

หัวมงกุฎท้ายมังกร เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ไก่ได้พลอย

หมายถึงการที่ได้ของมีค่ามาแต่ไม้รู้คุณค่าของสิ่งนั้น

ถ้อยคำสำนวน

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.

น้ำคำ

หมายถึงน. ถ้อยคำสำนวน.

ลิ้นลม

หมายถึงน. ถ้อยคำที่คมคาย, สำนวน.

เล่นลิ้น

หมายถึงก. พูดเป็นสำนวนไม่ตรงไปตรงมา.

สละสลวย

หมายถึง[สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทงความ และมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำสำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย.

ตามควาย

หมายถึงว. รีบร้อน ในสำนวนว่า เดินอย่างตามควาย.

เทศนาโวหาร

หมายถึงน. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ.

ดาด,ดาด,ดาด ๆ

หมายถึงว. ธรรมดา ๆ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนดาด ๆ.

ตีสำนวน

หมายถึงก. พูดใช้สำนวนโวหารเป็นเชิงอวดฉลาด.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ