ค้นเจอ 29 รายการ

สังกัด

หมายถึงก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).

ชา

หมายถึงก. หมายไว้, กำหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบเรือชา. (สมุทรโฆษ).

เจ้าสังกัด

หมายถึงน. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ต้นสังกัด

หมายถึงน. ส่วนราชการระดับสูงที่ข้าราชการนั้น ๆ สังกัดอยู่ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจทุกคน.

มูลนาย

หมายถึง[มูน-] น. นายใหญ่, นายเดิมที่ตนสังกัดอยู่.

ข้อมือขาว

หมายถึง(โบ) น. ข้อมือที่ไม่ได้สักบอกสังกัดทหาร.

แวดวง

หมายถึง(ปาก) น. วงการ, กลุ่มที่สังกัดอยู่, เช่น ในแวดวงนักการเมือง ในแวดวงนักธุรกิจ.

ลูกหมู่

หมายถึง(โบ) น. ลูกหลานที่ต้องถูกเกณฑ์รับราชการตามสังกัดของบิดามารดาในครั้งโบราณ.

ฝ่ายใน

หมายถึงน. เจ้านายและข้าราชการเป็นต้นที่เป็นสตรีสังกัดอยู่ภายในพระราชฐานชั้นใน.

ขุนหมื่น

หมายถึง(โบ) น. ข้าราชการชั้นต่ำพวกหนึ่งที่เจ้าสังกัดเอาประทวนตั้งเป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง.

ทบวง

หมายถึง[ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.

โอน

หมายถึงก. น้อมลง, โน้ม; ยกไปไว้อีกที่หนึ่ง เช่น โอนบัญชี; ยอมมอบให้; ย้ายสังกัด; (กฎ) ทำให้สิทธิตกไปเป็นของบุคคลอื่น เช่น โอนกรรมสิทธิ์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ