ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อาทาน, สมาทาน, สันทาน, ถนน, สอบพยาน, ไต่ถาม, ไถ่ถาม, สอบถาม, สอบสวน, สอบสวนทวนพยาน, อวย
สอบทาน
หมายถึงก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับหรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ทาน
สาเหตุที่มีคำราชาศัพท์
เทคนิคจำศัพท์ - Negative Prefixes
ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์
ทาน
หมายถึงก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.
ทาน,ทาน,ทาน-
หมายถึง[ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
หมายถึงก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน.
สอบ
หมายถึงว. มีลักษณะเรียวลงด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน ใช้แก่รูปทรงของภาชนะหรือสิ่งที่มีลักษณะกลวง เช่น พ้อมก้นสอบปากสอบ เสื้อแขนสอบ กางเกงขาสอบ.
หมายถึงก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือวัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด.
โรงทาน
หมายถึงน. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล.
ทานมัย
หมายถึง[ทานนะไม] ว. สำเร็จด้วยทาน, แล้วไปด้วยทาน. (ป., ส.).
ทานบน
หมายถึง(โบ) น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทัณฑ์บน ก็ว่า.
โปรยทาน
หมายถึงก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, ทิ้งทาน ก็ว่า.
สอบแข่งขัน
หมายถึงก. สอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับทุนหรือบรรจุในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นต้น.
สอบความถนัด
หมายถึงก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษาหรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.