ค้นเจอ 111 รายการ

สนิท

หมายถึง[สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).

สนิธ

หมายถึง[สะหฺนิด] (โบ) ว. สนิท.

มิด

หมายถึงว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.

แจบ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.

ชะชิด

หมายถึงก. ชิด, สนิท, ใกล้, เคียง.

สินิทธ์

หมายถึงว. สนิท, เกลี้ยงเกลา, อ่อนโยน, รักใคร่. (ป.; ส. สฺนิคฺธ).

มิดหมี

หมายถึงว. มาก, สนิท, ใช้ประกอบหลังคำ ดำ เป็น ดำมิดหมี.

กระเสียน

หมายถึงว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).

สนิทใจ

หมายถึงว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึงรังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวม ใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.

สนิทปาก

หมายถึงว. ไม่รู้สึกกระดากใจหรือตะขิดตะขวงใจ เช่น พูดเท็จได้สนิทปาก พูดคำหยาบโลนได้สนิทปาก, สนิทปากสนิทคอ ก็ว่า.

ญาติสนิท

หมายถึง[ยาดสะหฺนิด] น. ญาติที่ใกล้ชิดกันมาก.

ทอดสนิท

หมายถึงก. ผูกไมตรี, สร้างความสัมพันธ์, เช่น ซื้อของมาฝากบ่อย ๆ เพื่อทอดสนิทให้เขารัก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ