ตัวกรองผลการค้นหา
ศรัทธา, สัทธา เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ศัทธา เป็นคำที่เขียนผิด ❌
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ศรัทธา
สัทธา
หมายถึงน. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส. (ป.; ส. ศฺรทฺธา).
ศรัทธา
หมายถึง[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
ฉลองศรัทธา
หมายถึง(ปาก) ก. ตอบแทนเต็มที่.
สัทธาธิกะ
หมายถึงน. ผู้ยิ่งด้วยศรัทธา. (ป.).
แก่กล้า
หมายถึงก. เข้มแข็ง, ยวดยิ่ง, เช่น ศรัทธาแก่กล้า.
เบญจพล
หมายถึงน. กำลัง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.
อจล,อจล-
หมายถึง[อะจะละ-] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).
เพิ่มพูน
หมายถึงก. เติมให้มากยิ่งขึ้น, เสริมให้มากยิ่งขึ้น, เช่น เพิ่มพูนศรัทธา เพิ่มพูนบารมี.
เฉลิม
หมายถึง[ฉะเหฺลิม] ก. ยกย่อง เช่น เฉลิมพระเกียรติ, เพิ่มพูน, เสริม, เช่น เฉลิมศรัทธา. ว. เลิศ, ยอด.
กระกัด
หมายถึง(โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคำหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
ให้ศีล
หมายถึงก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคนควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.