ค้นเจอ 276 รายการ

ละครรำ

หมายถึงน. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.

ร่ายรำ

หมายถึงก. เดินหรือจับระบำไปตามจังหวะดนตรีของละครรำ.

ละครใน

หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.

เสภารำ

หมายถึงน. เสภาทรงเครื่องที่มีตัวละครออกมารำประกอบการขับ.

เครือวัลย์พันไม้

หมายถึงน. ท่ารำละครชนิดหนึ่ง.

ตัวนาง

หมายถึงน. ผู้แสดงละครรำหรือระบำ เข้าเครื่องละครรำ ใช้ลีลาท่ารำแบบหญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร.

ตัวพระ

หมายถึงน. ผู้แสดงละครรำหรือระบำ เข้าเครื่องละครรำ ใช้ลีลาท่ารำแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร.

ละครชาตรี

หมายถึงน. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.

รำ

หมายถึงน. ผงเยื่อหรือละอองเมล็ดข้าวสาร.

รำ

หมายถึงก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือ เช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.

กระต่ายต้องแร้ว

หมายถึงน. ท่ารำละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน).

กระหวัดเกล้า

หมายถึงน. วิธีรำละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ