ค้นเจอ 10 รายการ

มิ่ง

หมายถึงน. สิ่งเป็นสิริมงคล เช่น มิ่งเมือง เมียมิ่ง.

ศรี

หมายถึง[สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).

มิ่งเมีย

หมายถึงน. เมียที่ถือว่านำสิ่งมงคลมาสู่สามีและครอบครัว.

มิ่งมงคล

หมายถึงน. สิ่งที่ถือว่าเป็นสิริมงคลอันจะนำความสุขความเจริญมาสู่.

จี

หมายถึงว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า. (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋.

กามิศ,กาเมศ

หมายถึงว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยังติดแม่. (ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย. (ทวาทศมาส).

บีเยศ

หมายถึง(กลอน) ว. ที่รัก เช่น แถลงปางนฤนารถไท้สวรรคต ยงงมิ่งเมืองบนบี เยศเย้า. (ยวนพ่าย).

ชุ่ย

หมายถึง(วรรณ) ก. เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป, เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้, เช่น อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้าราวนม. (ขุนช้างขุนแผน).

ประภัสสร

หมายถึง[ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).

ขวัญ

หมายถึง[ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง; กำลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทำขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทำพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทำพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทำขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กำลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ