ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา หงัก ๆ, ตุลาคม, บังคับครุ, เบียนธาตุ, กันยายน, งัก ๆ,งั่ก ๆ, เที่ยว, ตาม
เสมา
หมายถึง[เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกำแพงอย่างกำแพงเมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสำหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา).
หงัก ๆ
หมายถึงว. อาการที่สั่นสะท้าน; อาการที่เดินสั่น ๆ มา, งั่ก ๆ ก็ว่า.
มาริ
หมายถึงก. มา. (ช.).
ตุลาคม
หมายถึงน. ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) เดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป., ส. ตุลา ว่า คันชั่ง + อาคม ว่า มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีตุล).
บังคับครุ
หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
เบียนธาตุ
หมายถึงก. ทำให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป - อาคม = มา.
กันยายน
หมายถึงน. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. กนฺยา = นางงาม, นางสาวน้อย + อายน = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกันย์).
งัก ๆ,งั่ก ๆ
หมายถึงว. อาการที่สั่นสะท้าน, อาการที่เดินสั่น ๆ มา.
เที่ยว
หมายถึงน. เรียกการไปยังที่ซึ่งกำหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอกอาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.
ไป ๆ มา ๆ
หมายถึงว. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ไป ๆ มา ๆ ก็ต้องมาขอเงินพ่อใช้.
มาสก
หมายถึง[มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).
ตาม
หมายถึงก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลำดับของสิ่งหรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อยตามมา ตามเหตุการณ์; เรียกตัวมา เช่น ไปตามนาย ก มา, เชิญมา เช่น ไปตามหมอ; เที่ยวค้นหาสิ่งที่หายไป เช่น ตามเรื่อง ตามวัว; จุดให้ไฟติดไว้ เช่น ตามไฟ ตามตะเกียง ตามประทีป. ว. อาการที่เลียนแบบหรือเอาอย่าง เช่น ทำตาม คล้อยตาม; ควรแก่, เหมาะแก่, เช่น ตามกำลังความสามารถ; เหมือน, อย่าง, ดัง, เช่น ตามเคย ตามปรกติ ตามธรรมดา; แล้วแต่, สุดแต่, เช่น ตามใจ ตามอัธยาศัย ตามกรรม; ไม่ทวนกระแส (ใช้แก่กระแสนํ้าหรือกระแสลม) ในคำว่า ตามนํ้า ตามลม; ไม่ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทำตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามสมัยนิยม. บ. แถว, แนว, ถิ่น, ที่, เช่น มีอยู่ตามป่า ปิดไว้ตามกำแพง; โดย เช่น ตามที่ปรากฏว่า.