ค้นเจอ 13 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา หลิกะ, ชาว, กรรษก

ภาวนา

หมายถึง[พาวะ-] น. การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่งภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).

ภาวนามัย

หมายถึงว. สำเร็จด้วยภาวนา. (ป.).

ปฏิบัติธรรม

หมายถึงก. ประพฤติตามธรรม; เจริญภาวนา.

บ่น

หมายถึงก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่นภาวนา.

ปรก

หมายถึง[ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก ว่า คณะปรก.

ทำบุญเอาหน้า

หมายถึง(สำ) ก. ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.

ลูกประคำ

หมายถึงน. ไม้หรือแก้วเป็นต้นที่ทำเป็นเม็ดกลมมีรูตรงกลางร้อยด้วยด้ายหรือไหม ส่วนมากมี ๑๐๘ ลูก สำหรับนักบวชมีฤษีเป็นต้นใช้สวมคอเพื่อกำหนดนับการบริกรรมภาวนา คือเมื่อบริกรรมภาวนาจบครั้งหนึ่ง ๆ ก็รูดไว้เม็ดหนึ่ง, เครื่องประดับที่ทำเช่นนั้น.

เข้าที่

หมายถึงก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.

ประคำ

หมายถึงน. ลูกกลม ๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนาหรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง, เรียกเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำเป็นต้นมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.

บริกรรม

หมายถึง[บอริกำ] ก. สำรวมใจสวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจร่ายมนตร์หรือเสกคาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).

พุทธาภิเษก

หมายถึงน. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.

ประธาน

หมายถึงน. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนาประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ