ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เรี่ย,เรี่ย ๆ, พ่าง, สันถาร, ดล,ดล,ดล-, ธรรมดา, พล,พล-, ภูมิ, จรดล, ดาล, ตละ
เรี่ย,เรี่ย ๆ
หมายถึงว. เฉียดใกล้ในแนวนอน เช่น นกบินเรี่ยน้ำ เครื่องบินบินเรี่ยยอดไม้ น้ำขึ้นมาเรี่ย ๆ พื้น.
พ่าง
หมายถึงน. พื้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พ่างพื้น เช่น พ่างพื้นพสุธา. ว. เพียง, เช่น, เหมือน, แทบ, พาง หรือ ปาง ก็ว่า.
สันถาร
หมายถึงน. การปูลาด; ที่ปูลาด, พื้น. (ป.; ส. สํสฺตาร).
พื้น ๆ
หมายถึงว. เรียบ ๆ เช่น งามอย่างพื้น ๆ คือ งามอย่างเรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาด ดีอย่างพื้น ๆ คือ ดีอย่างเรียบ ๆ ไม่โลดโผน, ธรรมดา ๆ เช่น กับข้าวพื้น ๆ.
ดล,ดล,ดล-
หมายถึง[ดน, ดนละ-] น. พื้น, ชั้น, เช่น พสุธาดล. (ป., ส. ตล).
ธรรมดา
หมายถึงน. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่องธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
พล,พล-
หมายถึง[พน, พนละ-, พะละ-] น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตำรวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
พื้น
หมายถึงน. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็นแผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทำสวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
ภูมิ
หมายถึง[พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
จรดล
หมายถึง[จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).
ดาล
หมายถึงก. เกิดขึ้น, เป็นขึ้น, มีขึ้น. น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น ดาลได ว่า ฝ่ามือ ดาลเชิง ว่า ฝ่าเท้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
ตละ
หมายถึง[ตะละ] น. พื้น, ชั้น. (ป.).