ค้นเจอ 16 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา พอที่

พอที่จะ

หมายถึงว. ควรที่จะ เช่น พอที่จะได้ เลยไม่ได้.

พอที่

หมายถึงว. เหมาะ, ควร, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่พอที่ เช่น ไม่พอที่จะเข้าไปยุ่งกับเขาเลย.

ติดแห้ง

หมายถึงก. ติดอยู่ในที่ที่นํ้าแห้งลง ไม่พอที่เรือจะไปได้.

ติดตื้น

หมายถึงก. ติดอยู่ในที่ที่มีนํ้าตื้น ไม่พอที่เรือจะไปได้.

รับฟังได้

หมายถึงก. รับว่ามีเหตุผลน่าเชื่อถือ, รับว่ามีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้, เช่น เหตุผลที่อ้างมานั้นรับฟังได้.

เพาะชำ

หมายถึงน. การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เป็นเมล็ดจนโตถึงระยะพอที่จะนำไปปลูกที่อื่นได้, การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่ตัดกิ่งไปปักในดินที่ชุ่มน้ำจนกระทั่งรากงอกและแตกใบแล้วนำไปปลูกที่อื่นได้.

เข้ามุม

หมายถึงก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็นเดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท.

แบบแปลน

หมายถึงน. แผนผัง; (กฎ) แบบเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยมีรูปแสดงรายละเอียดส่วนสำคัญ ขนาดเครื่องหมายวัสดุ และการใช้สอยต่าง ๆ ของอาคารอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้.

กิ่งอำเภอ

หมายถึง(กฎ) น. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจากอำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง.

พะอง

หมายถึงน. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูกพาดขึ้นต้นไม้ต่างบันได ถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูกต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.

สู้ครู

หมายถึงก. มีความรู้พอ ๆ กับครูหรือเหนือกว่า เช่น ความรู้ของเขาสู้ครูได้; (โหร) เรียกคนที่ดวงชะตามีพฤหัสอยู่ในราศีสิงห์มีอาทิตย์เป็นเจ้าเรือนว่า พฤหัสสู้ครู ซึ่งหมายความว่า มีใจกล้า มีใจเข้มแข็งพอที่จะสู้กับผู้รู้หรือผู้ชำนาญชั้นครูได้.

ช่วงชัย

หมายถึงน. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ