ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา วิชญะ, ปราชญา, สาธย,สาธย-,สาธยะ, ปราปต์, ภารตวิทยา, ปรีชญา, อันติมสัจ, ปรมาตมัน, ปราชัย, อากาศ-, ปรัชญา
ปราชญ์
หมายถึง[ปฺราด] น. ผู้มีปัญญารอบรู้. (ส. ปฺราชฺ).
ปราชญ์ พึงรักษาศีล
วิชญะ
หมายถึง[วิดยะ] น. ผู้รู้, ผู้ฉลาด, ปราชญ์. (ส.).
พญาพยาต
หมายถึง(โบ) น. พญาปราชญ์, จอมปราชญ์.
ธีรราช
หมายถึงน. กษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์.
โมไนย
หมายถึง[-ไน] น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์. (ป. โมเนยฺย; ส. เมาเนย).
หะหาย,หะห้าย
หมายถึงว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).
มนัสวี
หมายถึง[มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.).
ประวัติ,ประวัติ-
หมายถึง[ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติวัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
จ่อม
หมายถึงก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
หาก
หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).