ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ประชวม, กระโบม, ตระโบม, ประโพธ, ประณาม, ประณม, ประโลม, เสาประโคน, ประโคน, บรรโลม, กระคน
ประโคม
หมายถึงก. บรรเลงดนตรีเพื่อเป็นสัญญาณในพิธีบางอย่างเพื่อสักการบูชาหรือยกย่องเป็นต้น.
พาทย์
หมายถึง(กลอน) น. เครื่องประโคม. (ส. วาทฺย).
วาทนะ
หมายถึง[วาทะนะ] น. การประโคม, การบรรเลงดนตรี. (ส.).
มโหระทึก
หมายถึงน. กลองโลหะชนิดหนึ่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณและประโคม.
วาทกะ
หมายถึง[วาทะกะ] น. ผู้ประโคม, ผู้บรรเลงดนตรี, นักดนตรี. (ส.).
วาทย,วาทย-,วาทย์
หมายถึง[วาทะยะ-, วาดทะยะ-] น. เครื่องประโคม, เครื่องบรรเลง, เครื่องเป่า. (ส.).
ทับ
หมายถึง(โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
กันทะ
หมายถึง(โบ) น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา. (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์).
นางหงส์
หมายถึงน. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปี่ชวาและกลองมลายู สำหรับบรรเลงในงานศพ; ชื่อเพลงไทยชุดหนึ่ง ใช้ประโคมศพ.
กาหล
หมายถึง[-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
โหมโรง
หมายถึงน. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการบรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
เรือกลอง
หมายถึงน. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่องประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน.