ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ประกิด, ประวาส, ประกล, ปราการ, ประหาร, ปหาร, ประกิต, ประหาณ, ปหาน, ประสาร, ประกาศ, ประหาร, ประพาต
ประการ
หมายถึงน. อย่าง เช่น จะทำประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทำนอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
คำสุภาพที่ควรรู้ คู่กับคำราชาศัพท์
นวอรหาทิคุณ,นวารหาทิคุณ
หมายถึง[นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
สิกขมานา
หมายถึง(โบ) น. สามเณรีที่มีอายุครบ ๑๘ ปี ก่อนอุปสมบทเป็นภิกษุณีจะต้องรักษาสิกขาบท ๖ ประการ เป็นเวลา ๒ ปี. (ป.).
ราชธรรม
หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
อริยทรัพย์
หมายถึงน. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
พุทธคุณ
หมายถึงน. คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุด มี ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ. (ป.).
โพชฌงค์
หมายถึง[โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).
มงคลสูตร
หมายถึง[มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
อินทราภิเษก
หมายถึง[อินทฺรา-] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นำเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.
โลกธรรม
หมายถึง[โลกกะ-] น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทางพระพุทธศาสนามี ๘ ประการ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ ๕. สรรเสริญ ๖.นินทา ๗. สุข ๘. ทุกข์. (ส. โลกธรฺม; ป. โลกธมฺม).
นววิธ
หมายถึง[-วิด] ว. ๙ ประการ, ๙ อย่าง. (ป.).
ประกล
หมายถึงน. ประการ. ว. ต่าง.