ตัวกรองผลการค้นหา
ปฏิภาณ,ปฏิภาณ-
หมายถึง[ปะติพาน, ปะติพานะ-, ปะติพานนะ-] น. เชาวน์ไวในการกล่าวแก้หรือโต้ตอบเป็นต้นได้ฉับพลันทันทีและแยบคาย. (ป.).
คำไทยที่มักอ่านผิด
หัวไว
หมายถึงว. มีปฏิภาณไหวพริบดี.
ว่องไว
หมายถึงก. รวดเร็ว, คล่องแคล่ว, ปราดเปรียว, ปราดเปรื่อง, เช่น ทำงานว่องไว มีปฏิภาณว่องไว.
เชาวน์
หมายถึง[เชา] น. ปัญญาหรือความคิดฉับไว, ปฏิภาณไหวพริบ. (แผลงมาจาก ป., ส. ชวน).
หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม
หมายถึง(สำ) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติโดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.
ไม้เป็น
หมายถึงน. ท่าสำคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด หรือ ไม้ตาย.
ปฏิภาณกวี
หมายถึง[ปะติพานนะกะวี, ปะติพานกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด.
ฉ่อย
หมายถึงน. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
หมายถึง[ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).