ค้นเจอ 36 รายการ

บิดพลิ้ว เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

บิดพริ้ว เป็นคำที่เขียนผิด ❌

บิณฑบาต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

บิณฑบาตร, บิณฑบาท เป็นคำที่เขียนผิด ❌

บิกู,บีกู

หมายถึงน. ภิกขุ เช่น พราหมณ์ชีบีกูน้อยใหญ่. (อิเหนา). (ช.).

บิกูปะระมาหนา,บิกูปะระหมั่นหนา

หมายถึงน. ภิกษุกับพราหมณ์. (ช.).

บิฐ

หมายถึง[บิด] น. ตั่ง, ที่นั่งชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยม มีเท้า มีพนักอิงบ้างไม่มีบ้าง. (ป. ปี).

บิด

หมายถึงก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทำให้ผิดไปจากสภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความเกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่างแรงทำนองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.

บิตุรงค์

หมายถึง(กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค).

บิตุลานี

หมายถึง(แบบ) น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุลานี).

บิวเรตต์

หมายถึงน. หลอดแก้วยาว ปลายล่างมีลูกบิดให้ปิดเปิดได้ ข้างหลอดมีขีดบอกปริมาตรสำหรับวัดของเหลวที่ไขออก ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางเคมี. (อ. burette).

บิ

หมายถึงก. ทำให้แตกออกหรือหลุดออกเป็นชิ้น ๆ ด้วยนิ้ว เช่น บิขนมปัง, แตกออกหรือหลุดออกด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น.

บิณฑ,บิณฑ-

หมายถึง[บินทะ-] (แบบ) น. ก้อนข้าว. (ป., ส. ปิณฺฑ).

บิณฑบาต

หมายถึงน. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ