ค้นเจอ 17 รายการ

นายจ้าง

หมายถึงน. ผู้จ้างทำการงาน, คู่กับ ลูกจ้าง; (กฎ) บุคคลซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ให้ทำงานให้และจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้นั้น.

จ้าง

หมายถึงก. ให้ทำงานหรือทำของโดยให้ค่าตอบแทน, ผู้ให้ทำงานเรียก นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำงานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทำของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำของเรียก ผู้รับจ้าง.

ลูกจ้างประจำ

หมายถึง(กฎ) น. ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจำ.

ค่าชดเชย

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง.

การิตการก

หมายถึง[การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทำ, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา “ถูก-ให้” เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท “ยัง” หรือกริยานุเคราะห์ “ให้” เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทำงาน นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน.

วินาศกรรม

หมายถึง[วินาดสะกำ] น. การลอบทำลายหรือเผาผลาญทรัพย์สินโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ของนายจ้างหรือของศัตรู เช่น ในกรณีที่เกิดพิพาทกันขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือเพื่อตัดกำลังฝ่ายศัตรูเมื่อทำสงครามกันโดยตรงหรือโดยปริยาย.

ค่าล่วงเวลา

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.

รับคำ

หมายถึงก. ให้สัญญา, ไม่ปฏิเสธ, ตอบตกลง, เช่น ลูกจ้างรับคำนายจ้าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ รับปาก เป็น รับปากรับคำ.

ลูกจ้างชั่วคราว

หมายถึง(กฎ) น. ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้ไม่เป็นการประจำ เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาล.

สินจ้าง

หมายถึงน. เงินค่าบำเหน็จตอบแทน; (กฎ) ค่าตอบแทนที่นายจ้างหรือผู้ว่าจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง.

ลดตัว

หมายถึงก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่นหัวกับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก.

ลูกจ้าง

หมายถึงน. ผู้รับจ้างทำการงาน; (กฎ) ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ