ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ทศ,ทศ,ทศา, ทศม,ทศม-, ทศ,ทศ,ทศ-
ทศกัณฐ์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ทศกัณฑ์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ทศ,ทศ,ทศ-
หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
ทศมาส
หมายถึงน. ๑๐ เดือน.
ทศางค์
หมายถึง[ทะสาง] น. มาตราวัดนํ้าฝนเท่ากับ ๑๐ สตางค์ เป็น ๑ ทศางค์, และ ๑๐ ทศางค์ เป็น ๑ นิ้ว.
ทศชาติ
หมายถึงน. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ.
ทศกัณฐ์
หมายถึงน. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
ทศนิยม
หมายถึงน. จำนวนจริงในรูปเลขฐานสิบ โดยกำหนดจุดจุดหนึ่งให้อยู่ข้างหน้าหรืออยู่ระหว่างตัวเลขต่าง ๆ เช่น .๘๕๖, ๑๒.๐๘. (อ. decimal).
ทศพร
หมายถึงน. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ.
ทศ,ทศ,ทศา
หมายถึง[ทด, ทะสา] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).
ทศทิศ
หมายถึงน. ทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศทั้ง ๘ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑. (ส.).
ทศเบญจกูล
หมายถึงน. เครื่องเผ็ดร้อน ๑๐ อย่างตามตำราแพทย์แผนโบราณ.
ทศพิธราชธรรม
หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.