ค้นเจอ 31 รายการ

ทมิฬ

หมายถึง[ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).

หินชาติ

หมายถึง[หินนะชาด] ว. มีกำเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ ทมิฬ เป็น ทมิฬหินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.

มโนศิลา

หมายถึงน. ศิลาอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้, อีกนัยหนึ่งว่าสารหนูแดง, เรียกหินลายสีแดง ๆ เช่น รัตนผลึกเลื่อมมโนศิลาลาย. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ส. มนสฺ + ศิลา; ทมิฬ มโนจิไล).

จงกลนี

หมายถึง[-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓).

ไพรำ

หมายถึงน. มณีอันมีค่า. (ทมิฬ ไพลำ ว่า เพชร).

กลมภะ

หมายถึง[กะลมพะ] (กลอน) ว. หลายอย่างรวมกัน เช่น จำหลักจำหลอกกลม- ภบังอวจจำหลักกราย. (สมุทรโฆษ). (ทมิฬ กลมฺป).

ยุคทมิฬ

หมายถึงน. ยุคที่เต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดดุร้าย.

ยี่หร่า

หมายถึง[-หฺร่า] ดู เทียนขาว. (เทียบ ส. ชีรก; ทมิฬ ชีรา; ฮินดูสตานี zira).

กระวิน

หมายถึง(โบ) ว. สีนํ้าตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล).

กวิน

หมายถึง[กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งนํ้า). (ทมิฬ แปลว่า งาม).

กะละออม

หมายถึงน. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กะออม หรือ กัลออม ก็ว่า. (ทมิฬ กะละยัม แผลงมาจาก ส. กลศ).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ