ค้นเจอ 13 รายการ

ต้าน

หมายถึงก. ยันหรือรับไว้เพื่อไม่ให้ลํ้าแนวเข้ามา เช่น ต้านข้าศึก, ปะทะ เช่น เรือต้านลม.

ทาน

หมายถึงก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน.

รับ

หมายถึงก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ เช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทำ; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียง เช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.

โต้

หมายถึงก. ต้าน เช่น โต้คลื่น โต้ลม, ตอบกลับไป เช่น เขาตีลูกเทนนิสมา ก็ตีโต้กลับไป.

ทัด

หมายถึง(กลอน) ก. ต้านไว้, ทานไว้.

แย้ง

หมายถึงก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน เช่น ความเห็นแย้งกัน ข้อความแย้งกัน; ต้านไว้, ทานไว้.

แรงดึงดูด

หมายถึง(ฟิสิกส์) น. แรงระหว่างเทหวัตถุ ๒ ชิ้นที่ดึงหรือพยายามดึงให้เทหวัตถุทั้ง ๒ เคลื่อนที่เข้าใกล้กัน ต้านหรือพยายามต้านการแยกเทหวัตถุทั้ง ๒ ออกจากกัน.

กินลม

หมายถึงก. ต้านลม, รับลม, เช่น ว่าวกินลม ใบเรือกินลม.

ราน้ำ

หมายถึงก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.

ปะทะ

หมายถึงก. โดนกัน, กระทบกัน, เช่น เรือปะทะกัน ข้างเรือปะทะกัน, ประจัญกัน เช่น กองทัพปะทะกัน, ต้านไว้ เช่น ยกทัพไปปะทะข้าศึก.

ซุง

หมายถึงน. เชือกที่ใช้ปลายทั้ง ๒ ผูกกับอกว่าวห่างกันพอสมควรสำหรับต่อกับสายป่าน เพื่อให้ว่าวต้านลมได้ตรงตัว, สายซุง ก็เรียก.

สายซุง

หมายถึงน. เชือกที่ใช้ปลายทั้ง ๒ ผูกกับอกว่าว ห่างกันพอสมควรสำหรับต่อกับสายป่านเพื่อให้ว่าวต้านลมได้ตรงตัว, ซุง ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ