ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ดุลย,ดุลย-, ขาดดุล, ดุล, ดุล,ดุล-
ดุล เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ดุลย์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ดุลชำระหนี้
หมายถึง[ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ.
ดุลย,ดุลย-
หมายถึง[ดุนละยะ-, ดุนยะ-] ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
ดุลยพินิจ
หมายถึงน. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลพินิจ ก็ใช้.
ดุลอำนาจ
หมายถึง[ดุน-] น. การถ่วงอำนาจระหว่างประเทศให้มีพลังทางเศรษฐกิจหรือทางทหารทัดเทียมกัน.
ดุล,ดุล-
หมายถึง[ดุน, ดุนละ-] น. ตราชู, คันชั่ง, มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ เช่น ทองคำหนัก ๒๐ ชั่ง เรียกว่า ดุลหนึ่ง; ความเท่ากัน, ความเสมอกัน, เช่น รายรับรายจ่ายเท่ากัน เรียกว่า งบประมาณสู่ดุล; ชื่อกลุ่มดาวรูปคันชั่ง เรียกว่า ราศีดุล เป็นราศีที่ ๖ ในจักรราศี, ราศีตุล ก็ว่า. ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
ดุลการค้า
หมายถึง[ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกนอกประเทศกับสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ เรียกว่า ดุลการค้าได้เปรียบ, ถ้ามูลค่าของสินค้าที่นำเข้าสูงกว่ามูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เรียกว่า ดุลการค้าเสียเปรียบ.
ดุลยภาพ
หมายถึงน. ความเท่ากัน, ความเสมอกัน.
ดุลการชำระเงิน
หมายถึง[ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินเกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นำเข้าในประเทศ เรียกว่า ดุลการชำระเงินขาดดุล.
ดุลพินิจ
หมายถึง[ดุนละ-] น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลยพินิจ ก็ใช้.
ดุลภาค
หมายถึง[ดุนละ-] น. ภาวะที่เสมอกัน.