ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา วิมาน, ทิพจักขุ, โยคจักษุ, อภิญญา, วิชชา, ทิพย,ทิพย-,ทิพย์, ทิพยจักษุ, ทิพยเนตร, ตาทิพย์, อภิญญาณ
ฌาน เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ฌาณ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ฌาน
หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
รูปฌาน
หมายถึง[รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.
อรูปฌาน
หมายถึง[อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
ตาทิพย์
หมายถึงน. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด.
หูทิพย์
หมายถึงน. หูที่จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด.
เทวัญ
หมายถึงน. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์.
ทิพยญาณ
หมายถึงน. ความรู้เป็นทิพย์.
ทิพย,ทิพย-,ทิพย์
หมายถึง[ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่างเทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
โยคจักษุ
หมายถึงน. ตาทิพย์. (ส.).
สุธา
หมายถึงน. นํ้าอมฤต, อาหารทิพย์.
ทิพยรส
หมายถึงน. รสทิพย์, รสเลิศ.