ค้นเจอ 34 รายการ

ชั่วโมง

หมายถึงน. ช่วงระยะเวลา ๖๐ นาที.

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

เร่งด่วน

หมายถึงว. รวดเร็วมาก, รวดเร็วยิ่ง, เช่น งานนี้ต้องทำอย่างเร่งด่วนให้เสร็จภายใน ๑๒ ชั่วโมง ย้ายเร่งด่วนภายใน ๒๔ ชั่วโมง.

ปฐมยาม

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).

น้ำทรง

หมายถึงน. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับนํ้า, นํ้ากำลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากนํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลำคลองอาจมีระยะเวลาตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลำนํ้า.

ปัจฉิมยาม

หมายถึง[ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.

เดือนจันทรคติ

หมายถึง[-จันทฺระคะติ] น. การนับเดือนโดยถือเอาดวงจันทร์เดินรอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันเดือนดับไปถึงวันเดือนดับที่ถัดไป มีระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที แบ่งเป็น ข้างขึ้น ข้างแรม.

นาฬิกา

หมายถึงน. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกาข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่วนาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกำหนดเวลา).

มัชฌิมยาม

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

วัน

หมายถึงน. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม).

มหุรดี

หมายถึงน. ครู่, ขณะ, ชั่วโมง. (ส. มุหูรฺต, มุหูรตฺต).

ขานยาม

หมายถึง(โบ) ก. บอกเวลาเปลี่ยนชั่วโมง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ