ค้นเจอ 14 รายการ

คันธ,คันธ-,คันธะ

หมายถึง[คันทะ-] (แบบ) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. (ดู กาฬาวก).

สุคนธรส,สุคันธรส

หมายถึงน. กลิ่นหอม, ของหอม, เครื่องหอม.

คันธรรพเวท,คานธรรพเวท

หมายถึง[คันทันพะเวด, คันทับพะเวด, คานทันพะเวด, คานทับพะเวด] น. วิชาการดนตรี เป็นสาขาหนึ่งของสามเวท. (ส. คนฺธรฺวเวท).

ครุฑพ่าห์

หมายถึง[คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.

จรอก

หมายถึง[จะหฺรอก] (กลอน) น. จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น จับจรอกคันธรสจุณจันทน์. (สุธนู).

กระบี่ธุช

หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.

ขำ

หมายถึงน. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกายเข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).

กุมภัณฑ,กุมภัณฑ-,กุมภัณฑ์

หมายถึง[-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).

คัน

หมายถึงน. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสำหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน; สิ่งที่มีลักษณะยาวทำด้วยไม้เป็นต้น สำหรับถือหรือปัก เช่น คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนามเรียกรถหรือของที่มีด้ามถือบางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.

อุปเวท

หมายถึง[อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ “พระเวทรอง” ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชาการดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).

ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย

หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.

อุโบสถ,อุโบสถ,อุโบสถหัตถี

หมายถึง[อุโบสด, อุโบสดถะ-] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ