ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อาบัติ, ครุก,ครุก-, ลหุกาบัติ
ครุกาบัติ
หมายถึง[คะรุกาบัด] น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
ครุก,ครุก-
หมายถึง[คะรุกะ-] (แบบ) ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก. (ป.).
ครุ
หมายถึง[คฺรุ] น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ.
หมายถึง[คะรุ] น. ครู. (ป. ครุ, คุรุ, ว่า ครู; ส. คุรุ ว่า ครู).
หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
อาบัติ
หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
คุรุศึกษา เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ครุศึกษา เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ครุฑ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ครุท เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ครุกรรม
หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.
ฟันคุด เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ฟันครุฑ, ฟันครุท เป็นคำที่เขียนผิด ❌
สาลินี
หมายถึงน. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คำ คำที่ ๑ และคำที่ ๔ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ
ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์
หมายถึง[ฉันทะ-] น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. (ป.).