ค้นเจอ 13 รายการ

กลอกกลับ

หมายถึงว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด), กลับกลอก ก็ว่า.

กลับ

หมายถึง[กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทำตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.

กู่ไม่กลับ

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ฟังคำทัดทาน, ห้ามไม่อยู่.

หันกลับ

หมายถึงก. เปลี่ยนไปสู่สภาพเดิม เช่น เขาทั้งสองหันกลับไปคืนดีกัน.

อัจกลับ

หมายถึง[อัดจะกฺลับ] น. โคมอย่างหนึ่งทำด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้าห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ.

มุมกลับ

หมายถึงน. มุมที่มีขนาดอยู่ระหว่าง ๑๘๐ องศา กับ ๓๖๐ องศา; (ปาก) แง่คิดหรือทัศนะนัยหนึ่ง, แง่ตรงกันข้าม เช่น มองในมุมกลับ.

ลึกลับ

หมายถึงว. เร้นลับจนเหลือรู้เหลือเห็น หรือที่เข้าใจได้ยาก, ยากที่จะสืบสาวราวเรื่องได้ หรือที่สืบสาวราวเรื่องได้ยาก, เช่น เรื่องลึกลับ คดีลึกลับ คนลึกลับ.

ศอกกลับ

หมายถึงก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคำ, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.

ตากลับ

หมายถึงว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดำ; ลักษณะที่สายตาคนมีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น.

หนังกลับ

หมายถึงน. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่ เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า สุนัขหนังกลับ.

ฟ้องกลับ

หมายถึง(ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจำเลยในคดีอาญาด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิกความเท็จ.

เพชรกลับ

หมายถึง[เพ็ดชะ-] น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ