ค้นเจอ 143 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา แหล่, ทักข์

แล

หมายถึงว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฿. (เตลงพ่าย).

แหล่

หมายถึง[แหฺล่] น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล เช่น นั้นแล นั่นแล. ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์.

แล

หมายถึงก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา, ทอดตาดูเพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.

แล

หมายถึงสัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).

ทักข์

หมายถึงก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว เล็งดอย ดงนา. (ลำน้ำน้อย).

แลหน้าแลหลัง

หมายถึงก. พิจารณาให้รอบคอบ เช่น จะทำอะไรต้องแลหน้าแลหลังให้ดีเสียก่อน.

อกแล

หมายถึงดู กุแล.

แลเหลียว

หมายถึงก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มีใครแลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า.

กาแล

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่จะเห็นงาม, เรียก กะแล หรือ แกแล ก็มี.

สองตาก็ไม่แล,สองตาก็ไม่อยากแล

หมายถึง(สำ) คำที่แสดงอาการว่าไม่แยแสหรือตัดรอนไม่เป็นมิตรไมตรีกันอีกต่อไป.

อกแลกล้วย

หมายถึงดู กุแล.

จักขุประสาท

หมายถึงน. ส่วนสำคัญของตา ทำให้แลเห็น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ