ค้นเจอ 131 รายการ

ตำหระ

หมายถึง(โบ) น. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย).

แถว

หมายถึงน. แถบ เช่น คนแถวนี้, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร.

ยี่สก

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก.

ลำเนา

หมายถึงน. แนว, แถว, แถบ, ถิ่น.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

ดา

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้านหลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตำกับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้ายแมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นำมาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลำตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.

แถบ

หมายถึงว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไปแถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่น-พายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.

เสือข้างลาย

หมายถึงน. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Puntius partipentazona ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างและลักษณะคล้ายปลาตะเพียน มีลายดำ ๕ แถบ พาดขวางได้จังหวะกัน.

โนรี

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Heniochus วงศ์ Chaetodontidae ลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุด ก้านครีบหลังตอนแรกยื่นยาวเป็นเส้น ตัวมีสีสันสดสวย หัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางรวม ๓ แถบ ที่พบเสมอได้แก่ชนิด H. acuminatus ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อาศัยตามแนวหินปะการัง.

พื้น

หมายถึงน. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็นแผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทำสวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.

จำหระ

หมายถึงน. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย), ตำหระ ก็ว่า.

ตระ

หมายถึง[ตฺระ] น. แถบ, แปลง, (ใช้แก่ที่).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ