ค้นเจอ 135 รายการ

แก้

หมายถึงน. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).

ผูก

หมายถึงก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่น ผูกเวร; ตรงข้ามกับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.

แก้ไข

หมายถึงก. ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, แก้ ก็ว่า.

แก้

หมายถึงก. ทำให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทำให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทำให้ดีขึ้น, ทำให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทำให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.

พิสัช

หมายถึงก. แก้, ตอบคำถาม; สละ, ส่งไป, ทิ้ง. (ป. วิสชฺช).

แก้ขวย,แก้เขิน

หมายถึงก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.

แก้เคล็ด

หมายถึงก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา.

แก้ผ้า

หมายถึงก. เอาผ้าที่นุ่งอยู่ออกจากตัว, เปลือยกายไม่นุ่งผ้า, เช่น เด็กนอนแก้ผ้า เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.

แก้ฟ้อง

หมายถึง(กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.

แก้เชิง

หมายถึงก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิงหรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง.

ยิ้มแก้เก้อ,ยิ้มแก้ขวย

หมายถึงก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา.

แก้ตก

หมายถึงก. แก้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ