ค้นเจอ 36 รายการ

แกล้ง

หมายถึง[แกฺล้ง] ก. ทำให้เดือดร้อนรำคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน, จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

แสร้ง

หมายถึง[แส้ง] ก. แกล้ง, จงใจทำให้ผิดจากความจริง, จงใจทำ, เช่น รังไรโรยด้วยแป้ง เหมือนนกแสร้งทำรังรวง. (กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน).

บีบน้ำตา

หมายถึงก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้.

สรรแสร้ง

หมายถึงก. เลือกว่า, แกล้งเลือก.

ตะบิดตะบอย

หมายถึงว. แกล้งให้ชักช้า, ชักช้ารํ่าไร.

เสแสร้ง

หมายถึง[-แส้ง] ก. แกล้งทำให้เข้าใจเป็นอื่น, แกล้งทำไม่ตรงกับใจ, เช่น เขาเสแสร้งทำดีด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบคนคนนั้น.

ตีหน้า

หมายถึงก. แกล้งทำสีหน้าให้ผิดจากใจจริง เช่น ตีหน้าเซ่อ.

ข่มเหง

หมายถึง[-เหง] ก. ใช้กำลังรังแกแกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.

กลั่นแกล้ง

หมายถึงก. หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่าง ๆ, แกล้งใส่ความ.

กลิ่ง

หมายถึง[กฺลิ่ง] (โบ; กลอน) ก. เลือกสรร เช่น แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว. (ม. คำหลวง ทศพร).

กระแชะ

หมายถึง(กลอน) ก. กระแซะ เช่น แกล้งทำเลียมและกระแชะชิด สะบิ้งสะบัดดัดจริตกิริยา. (คาวี).

ตายประชดป่าช้า

หมายถึง(สำ) ก. แกล้งทำหรือพูดแดกดันประชดอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ตัวเองกลับเป็นฝ่ายเสียหายจากการทำหรือพูดนั้น.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ