ค้นเจอ 23 รายการ

เผยอ

หมายถึง[ผะเหฺยอ] ก. เปิดน้อย ๆ เช่น เผยอปาก เผยอฝาหม้อไว้ ฝากาเผยอ. ว. อวดดี, ทำไปโดยไม่รู้จักประมาณตน, เช่น เผยอทำ เผยอพูด.

แย้ม

หมายถึงก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.

แงะ

หมายถึงก. งัดให้เผยอขึ้น.

กระดก

หมายถึงก. ทำให้ปลายข้างหนึ่งยกสูงขึ้น, เผยอขึ้นข้างหนึ่ง.

เต๊ก

หมายถึงก. ทุบลง, กดลงไม่ให้เผยอขึ้นได้, เช่น ค้อนเหล็กเต๊กลง. (สมุทรโฆษ).

เขยิน

หมายถึง[ขะเหฺยิน] ก. ยื่นออกมา เช่น ฟันเขยิน, เผยอขึ้น เช่น ไม้เขยิน ตะปูเขยิน.

แยกเขี้ยว

หมายถึงก. เผยอริมฝีปากให้เห็นเขี้ยวด้วยอาการโกรธหรือขู่ เช่น เสือแยกเขี้ยว, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงพูดด้วยความโกรธหรือขู่.

กระเตื้อง

หมายถึงก. เบาขึ้น, ทุเลาขึ้น, เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น, เจริญขึ้น เช่น เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น; (โบ) พยุงยกให้เผยอขึ้น.

เปิดเผย

หมายถึงก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผยความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.

หงก ๆ

หมายถึงว. อาการที่หัวหงุบลงแล้วเผยอขึ้นเร็ว ๆ, อาการที่เดินโดยทำหัวเช่นนั้น เรียกว่า เดินหงก ๆ.

หมุบหมิบ

หมายถึงว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.

แย้มพระโอษฐ์

หมายถึงคำว่า "โอษฐ์" หมายความว่า "ริมฝีปาก, ปาก" เพราะฉะนั้นแล้ว "แย้มพระโอษฐ์" จึงหมายความว่า "เผยอริมฝีปากแต่น้อยๆ" หรือที่เราเข้าใจกันคือการ "ยิ้ม" นั่นเอง

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ