ค้นเจอ 547 รายการ

ทะนาน

หมายถึงน. เครื่องตวงอย่างหนึ่งทำด้วยกะโหลกมะพร้าวเป็นต้น; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, มาตราตวงของไทยโบราณเท่ากับ ๘ ฟายมือ. (เทียบ ส. ทินาร ว่า ตาชั่ง).

ทาน

หมายถึงก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน.

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

โทธก

หมายถึง[-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตำรากลอน).

แน่นหนา

หมายถึงว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.

บัล

หมายถึง(แบบ) น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐ บัล เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ป., ส. ปล).

บายศรี

หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).

เบะ

หมายถึงว. ทำหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคำ เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ปอดแปด

หมายถึงว. อ่อนน่วมอยู่ภายใน, มักใช้ประกอบกับคำ เหลว เป็น เหลวปอดแปด; อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, กระปอดกระแปด ก็ว่า.

ปะไร

หมายถึงตัดจากคำว่า เป็นไร. (ดูที่ เป็นไร ในคำ เป็น).

ปัตถะ

หมายถึง[ปัดถะ] (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ