ค้นเจอ 14 รายการ

เถิด

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

เทอญ

หมายถึง[เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).

เถอะ

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.

ทำเนา

หมายถึงว. ช่างเถิด, ตามมี.

ทะนะ,ทะนา

หมายถึง(โบ; กลอน) ว. คำละมาจากคำว่า เทอญนะ เทอญนา เถิดนะ หรือ เถิดนา, มักใช้ในความชักชวน เช่น ไปทะนะ.

ช่าง

หมายถึงว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.

หนา

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.

มีอันเป็น

หมายถึงก. เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน (มักใช้ในทางร้ายมีภัยพิบัติเป็นต้น) เช่น ขอให้มีอันเป็นไปเถิด มีอันเป็นให้ป่วยไข้เวลามีนัด.

รา

หมายถึงก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. (กลอน) ว. คำชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำตาม เช่น ไปเถิดรา.

ผ้าเหลือง

หมายถึง(ปาก) น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่งพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด.

กว้า

หมายถึง[กฺว้า] (โบ) ว. หรือ, อะไร, ทำไม, เป็นไร, บ้างซิ, บ้างเถิด, ว้า, หวามใจ, เช่น ในรลุงนาภี พรั่นกว้า. (ทวาทศมาส).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ